การโอนที่ดินให้ผู้เยาว์

ตามกฎหมาย เมื่อทารกเกิดมาแล้วมีสภาพเป็นบุคคลก็ย่อมเป็นผู้รับโอนได้  และต้องอยุ่ใต้อำนาจปกครองบิดามาดา (ม. 15 และ 1566 แห่งประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์) ในการจดทะเบียนให้ที่ดินแก่ผู้เยาว์  จึงต้องให้บิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองทำการรับโอนแทน  กรณีผู้เยาว์มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ผู้เยาว์ต้องไปให้ถ้อยคำยืนยันว่าปัจจุบันอยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดา  หรือหากผู้เยาว์ไปให้ถ้อยคำไม่ได้ก็ทำหนังสือมอบให้บิดามาดาไปให้ถ้อยคำแทนได้  แต่ถ้าผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 7 ปี  ไม่ต้องไปให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าว  แต่ให้ผู้ใดผู้หนึ่งที่ควรเชื่อถือได้เป็นผู้ให้ถ้อยคำรับรองว่า  ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นบิดามารดาผู้เยาว์จริง  และเวลานี้ผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของผู้ใช้อำนาจปกครองนั้น

การให้ที่ดินแก่ผู้เยาว์ เสียค่าใช้จ่าย ดังนี้

  1. ค่าธรรมเนียม อัตราร้อยละ 2 จากราคาประเมินทุนทรัพย์
  2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คำนวณจากราคาประเมินทันทรัพย์ตามประมวลรัษฎากร
  3. อากรแสตมป์ ร้อยละ 5 คำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลรัษฎากร
  4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ร้อยละ 3 (รวมภาษีท้องถิ่น) จากราคาประเมินทุนทรัพย์หรือราคาทุนทรัพย์ แล้วแต่ราคาใดสูงกว่า คิดตามราคาสูงกว่า  หากอยู่ในหลักเกฎฑ์ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร และเมื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ตาม ข้อ 3 อีก

กรณีบุพการีให้ที่ดินแก่ผู้สืบสันดาน

จะเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.5 จากราคาประเมินทุนทรัพย์  และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อากรแสตมป์ ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ตาม 2 – 4 ด้านบน) แล้วแต่กรณี  เว้นแต่กรณีมารดาและบิดายกให้ที่ดินแก่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายจะได้รับยกเว้นไม่เสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและภาษีเงินธุรกิจเฉพาะ

ที่มา

ส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน

หากท่าน ต้องการข้อมูลส่วนใดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

บริษัท รสา กรุ๊ป จำกัด

โทร 080 286 2000 ; 080 287 2000 โทร 02 933 55 11 ; 02 933 55 12

เร่งด่วน – หลังเลิกงาน โทร 080 288 2000

Email: info@53re.com Line ID: 15601560pp